F360
Spider
จาก Exotic car
ที่ดีที่สุดคันหนึ่ง
มาเป็นสปอร์ตเปิดประทุนเร็วที่สุด
สมบูรณ์แบบที่สุดและแข็งแรงปลอดภัยที่สุด
- Ferrari F360 Spider
ถูกยกย่องว่าเป็นรถที่อยู่ในอันดับแนวหน้าของรถประเภทนี้
จากการนำจุดเด่นของผู้พี่ไม่ว่าจะเป็น
F355 Spider และ F360 Modena มาใช้
โดยตัวรถมี design
ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นตัวถัง
ภายในห้องโดยสาร
ขุมพลัง
ไล่ไปยันระบบช่วงล่างต่าง
ๆ
และที่เหนืออื่นใดคือ
ค่าตัวจะขยับมากกว่ารุ่น
Modena เพียง 6 Percent เท่านั้น
!!!
- แน่นอนว่ายังคงเป็นฝีมือการสะบัดปากกาจากสำนัก
Paninfarina
น้องเล็กคันล่าสุด F360
Spider ของค่ายม้าผยอง Ferrari
ที่แม้ว่าจะเป็นรถเปิดประทุนที่มีทรวดทรงต้องตาต้องใจ
แต่ก็มีความดุดันผสมผสานอยู่ตามแบบฉบับที่ยากจะมีใครมาเทียมทานแถมยังถูกหลักอากาศพลศาสตร์มากกว่า
และการที่มีขนาดตัวเขื่องขึ้นทำให้มีความแข็งแรงทนทานและรับแรงบิดแรงเค้นได้มากกว่า
แต่ขณะเดียวกันน้ำหนักตัวกลับลดลง
ขุมพลัง V8 สูบ ขนาด 3.6
ลิตรที่ได้รับการยอมรับว่า
ม้าทั้ง 400 ตัวถ้วน ๆ
นี้มีฝีเท้าจัดจ้านแถมยังเรียกแรงบิดมาใช้งานได้ง่ายขึ้น
เค้ายังเอาระบบ electronic
ชุดใหม่มาทำหน้าที่ควบคุมซึ่งนอกจากจะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมแล้ว
ปัจจุบันยังทำให้ม้าผยองตัวนี้ขึ้นอันดับเป็นรถเปิดประทุนที่โหดเร็วแรงจนยากจะหาใครมาทาบ
และม้าทั้งฝูงจะถูกส่งลงดินด้วยล้อหลัง
ด้วยการส่งผ่านเกียร์ธรรมดา
6 จังหวะ
หรือจะสะใจด้วยระบบเกียร์ไฟฟ้าแบบเรียงลำดับซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม
F1
ที่พัฒนาจากของเดิมให้มีประสิทธิภาพกว่าและตอบสนองไวขึ้นมาใช้
โดยระบบช่วงล่างต่าง
ๆ ก็มีการ set
ใหม่ให้หนึบ
ทั้งหมดนี้ทำให้ F360 Spider
เป็นสุดยอด Exotic Car
เปิดประทุนอีกคันหนึ่งที่ผู้คนจะต้องกล่าวขานถึงมันไปอีกนานแสนนาน
เป้าหมายการผลิต F360 Spider
นั้นคาดว่าจะมีจำนวน 35-40%
จากยอดจำหน่ายของ F360 Modena
คือปีละประมาณ 1,000 คัน
และก็ยังคาดว่าลูกค้าใหญ่ยังคงเป็นพวกเคาบอย
เนื่องจากตระกูล F355 Spider
นั้นมีสัดส่วนถึง 47 %
ของยอดจำหน่ายตระกูล F355
Spider ทั้งหมด
แม้จะลู่ลมแหวกอากาศไม่เท่าตัว
Modena
แต่ก็ถือว่าเป็นรถเปิดประทุนที่ถูกหลักอากาศพลศาสตร์ที่สุด
- หน้าตาทรวดทรงของเจ้า
Spider ก็ต้องเอามาจาก F360
มาเป็นพื้นฐานในการออกแบบ
เมื่อมาเล็งด้านหน้าของเจ้า
Spider
กันแล้วก็จะเห็นว่ามีลักษณะเดียวกันกับเจ้า
Modena
คือรถทั้งสองคันนี้เป็นการผสมผสานระหว่าง
F355 กับ F550
และก็คงจะเห็นต่อไปอีกว่า
สไตล์ส่วนใหญ่จะนำมาจากพี่ใหญ่
F550
โดยเริ่มที่ชุดไฟหน้าแบบ
Pop-Up ที่เป็นเอกลักษณ์
จาก F348
และเป็นมรดกตกทอดมายัง
F355 ก็ได้เปลี่ยนไป
เนื่องจากเมื่อเปิดใช้จริงจะเจออากาศปะทะกันแบบเต็ม
ๆ
โดยเฉพาะในขณะที่ใช้ความเร็วสูง
ๆ ทำให้เกิดแรงยกตัว
(Lift Force)
จนรถมีการทรงตัวเกาะถนนไม่ดีเท่าที่ควร
เค้าจึงเปลี่ยนมาใช้ชุดไฟแบบ
Projector
ฝังแล้วครอบด้วยโคมหน้าพลาสติคใสที่มีแนวเดียวกับฝากระโปรงแทน
มองเลยไปที่แนวหลังคาของ
F360
ที่กระจกหน้าและข้างจะมีลักษณะเดียวกันกับ
F550
แต่เรียวยาวให้ความรู้สึกปราดเปรียวรับกับกระจกหลังที่ลาดเทมากกว่า
แต่ถ้าเป็น Spider
บั้นท้ายจะยาวเป็นแนว
โดยห้องเครื่องที่ได้แบ่งกั้นห้องเป็นสัดเป็นส่วนต่างหากนั้นยังคงมองจากด้านบนทะลุกระจกเพื่อให้เห็นขุมพลังอันน่าเกรงขามเหมือนกัน
แต่แทนที่กระจกบานหลังจะวางทแยง
ก็เปลี่ยนเป็นวางในแนวระนาบเดียวกับขอบฝากระโปรงหลัง
- มาดูด้านหน้ารถกันอีกที
F360
จะแตกต่างไปจากรถตระกูลอื่น
ๆ ในค่ายม้าผยอง
คือบรรดาช่องดักอากาศต่าง
ๆ
ซึ่งเดิมจะอยู่บริเวณกึ่งกลาง
เค้าก็จัดการจับย้ายมาที่มุมซ้ายและขวา
รวมทั้งย้ายแผงระบายความร้อนต่าง
ๆ
มาไว้ที่ด้านหลังของช่องทั้งสองนี้ด้วย
(เทคนิคนี้นำมาจากค่าย
Porsche
ทำให้ออกแบบให้หน้ารถมีระยะสั้นกว่าปกติได้)
ซึ่งเมื่ออากาศวิ่งเข้าไประบายความร้อนแล้วก็จะวิ่งออกทางด้านข้างบริเวณมุมกันชนหน้าล้อหน้าซ้าย-ขวา
และอากาศด้านหน้าส่วนหนึ่งจะถูกแยกไประบายชุดเบรกล้อหน้า
- ส่วนที่ด้านข้าง
นอกจากจะคงช่องลมดักที่อยู่บริเวณหน้าของล้อหลัง
เพื่อจะรับอากาศมาระบายตัวขุมพลังและชุดเบรกล้อหลังแล้ว
บริเวณสันบนของข้างตัวรถซึ่งถ้าเป็นตัว
Modena แล้ว
จะอยู่บริเวณใต้เสาหลัง
(C- Pillar)
เค้าจะเจาะช่องดักอากาศเอาไว้อีกแห่ง
เพื่อให้อากาศวิ่งเข้าสู่ระบบเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์
- มาถึงส่วนท้ายรถ
ชุดไฟท้ายกับแนวฝากระโปรงท้ายจะมีลักษณะเดียวกับรุ่นพี่
F550
เช่นเดียวกันแต่ที่มุมล่างซ้าย-ขวา
จะมีช่องระบายอากาศออกและมีปลายท่อคู่โผล่ออกมาทั้งสองด้าน
โดยบริเวณกึ่งกลางของชายล่างจะยกขอบขึ้นมาพร้อมกับมีช่องระบายอากาศให้ถ่ายเทความร้อนออกอีกแห่งด้วย
- คราวนี้มาดูที่ด้านบนของเจ้า
Spider
ที่เป็นแบบหลังคาอ่อนกัน
โดยนอกจากฝาห้องเครื่องจะเป็นกระจกใสวางราบยาวแล้ว
ด้านหลังเบาะนั่งแต่ละตัวยังมีห่วงโรลโอเวอร์บาร์กันคนนั่งคอย่นติดตั้งไว้เรียบร้อย
ช่องเก็บของด้านหลังเบาะนั่งซึ่งถ้าเป็นตัว
Modena
แล้วจะใช้เป็นที่เก็บสัมภาระหรือวางถุงกอล์ฟได้นั้น
ของ Spider
จะใช้เป็นที่เก็บหลังคาอ่อน
โดยทำเป็นกล่องด้วยสารสังเคราะห์ประเภท
SMC
(เป็นเรซินพลาสติคชนิดหนึ่ง)
จากนั้นด้านบนจะมีฝาปิดที่ทำเป็นส่วนนูนรับกับโรลโอเวอร์บาร์เบาะนั่งเอาไว้อย่างมีสไตล์
โดยชุดหลังคาอ่อนที่ว่านี้
ผู้รับหน้าที่ไปจัดการคือ
CTS (Car Top System)
ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง
Porsche กับ Mercedes-Benz
อยู่ในเมืองสตุทการ์ท
ประเทศเยอรมัน
เมื่อถูกส่งมาจากโรงงานมาติดตั้งกับ
Spider
จะใช้น็อตร้อยยึดเพียง
8 ตัวเท่านั้น
โครงสร้างของหลังคาทำจากอลูมิเนียมอัลลอยหล่อและเหล็กอัดขึ้นรูป
แล้วคนขับจะกางหรือจะพับหลังคาที่ว่านี้โดยระบบไฮดรอลิคที่ควบคุมด้วยระบบ
electronic
ซึ่งก็เพียงแต่กด switch
ที่คอนโซลกลางจึ๊กเดียว
หลังคาอ่อนก็จะพับเก็บหรือกางออกจากช่องเก็บโดยจะปลดหรือล็อคกับโครงกระจกหน้าโดยอัตโนมัติอีกต่างหาก
(โดยปกติทั่วไปรถหลังคาอ่อนนั่นคนนั่งต้องเอื้อมมาล็อคเอาเองนะครับ)
เวลาตั้งแต่เริ่มกดปุ่มจนเสร็จเรียบร้อยก็เพียงแค่
20 วินาที เท่านั้น
โดยมีข้อแม้ว่ารถต้องจอดติดเครื่องยนต์อยู่กับที่เท่านั้น
- สำหรับตัวเลขความลู่ลม
ถ้าเป็นตัว Modena
ที่ทางค่ายม้าผยองนำเข้าอุโมงค์ลมเป็นเวลาร่วมถึง
100 ชั่วโมง
เพื่อขัดเกลาออกแบบให้ถูกหลักอากาศพลศาสตร์มากที่สุดก็ไม่ได้เน้นความลื่นลม
(Cd.)
เพื่อให้มีฝีเท้าที่ความเร็วสูงเป็นสำคัญ
แต่จะเน้นให้มีการทรงตัวเกาะถนนที่ความเร็วมากขึ้นกว่าเดิม
นั่นคือต้องสร้าง
"แรงกด" (downforce)
ให้มีมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ซึ่งก็สำเร็จเพราะว่าแรงกดที่มีอยู่นี้จะ
"มากที่สุด"
ในบรรดารถตระกูลม้าผยอง
(รวมไปถึง F50
ที่มีสปออยเลอร์ขนาดเขื่องด้วยนะครับ)
ทั้งนี้ที่ความเร็ว
288 km/h
จะสร้างแรงกดตัวรถได้ถึง
180 กิโลกรัม
อันถือว่าเป็นตัวเลขที่มากพอสมควรทีเดียว
โดยในขณะที่ Modena
วิ่งอยู่ที่ความเร็ว
112 km/h
มันจะมีแรงกดมากเท่ากับตอนที่
F355
วิ่งอยู่บนความเร็วสูงสุด
ทั้งนี้คนที่เคยได้ลองควบมาแล้วเป็นคนยืนยันนั่งยันได้อีกเสียงว่า
เมื่อได้ควบ Modena
ที่ความเร็ว 128 km/h
จะรู้สึกถึงแรงที่กดให้ตัวรถเกาะถนนได้อย่างเด่นชัด
เมื่อมาที่ spider
ปรากฏว่าตัวเลขความฝืดลม
(Cd.) จะเพิ่มขึ้นเป็น 0.36
แต่ที่พิเศษไปกว่านั้น
คือ
นอกจากวิ่งเปิดหลังคาจะมีลมผวนมาตีภายในห้องโดยสารน้อยกว่าเดิม
ทั้งนี้เมื่อเปิดหลังคาวิ่งด้วยความเร็วสูง
ๆ ค่าแรงเสียดทาน (Cd.)
ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น
0.40-0.44
โดยขึ้นอยู่กับกระจกด้านข้างที่เปิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน
จากนั้นแรงกดที่ความเร็ว
288 km/h เมื่อเทียบกับ Modena
แล้ว Spider จะมีประมาณ 95 %
หรือประมาณ 171
กิโลกรัม
ซึ่งถือว่าสูงมากทีเดียวสำหรับรถเปิดประทุน
- พอมาวัดกันที่ขนาดตัว
โดยเอา Spider มาเทียบกับ
Modena
ปรากฏว่าจะมีมิติความยาวและกว้างของตัวรถเท่ากัน
และเมื่อเอาทั้งคู่มาเทียบสัดส่วนกับ
F355
อีกทีจะเห็นว่ามีขนาดเขื่องกว่าทั้งสองมิติทีเดียว
คือ
ความยาวตัวรถทั้งสองมากกว่า
227 มม.
ทำให้ตัวเลขขยับจาก
4,250 มม. มาเป็น 4,427 มม.
ความกว้างของตัวรถก็เพิ่มขึ้นจาก
1,900 มม. มาเป็น 1,922 มม.
ส่วนความสูงของทั้งคู่ก็มากกว่า
F355 แต่ Spider
เองก็ยังมากกว่า Modena
อยู่ 21 มม.
สำหรับความยาวและความกว้างฐานล้อหน้า-หลังของ
Spider และ Modena
ก็จะต้องมากกว่า F355
ตามไปด้วย คือ
จะมีตัวเลขความยาวฐานล้อหน้า-หลัง
2,600 มม.
ความกว้างฐานล้อหน้า
1,669 มม.
และความกว้างฐานล้อหลัง
1,617 มม. ในขณะที่ F355
จะมีตัวเลขอยู่ที่ 2,450
และ 1,514 กับ1,615 มม.
เท่านั้น
- เมื่อนำ Spider
มาเข้าเครื่อง X-Ray
ดูโครงสร้างกันก็จะพบว่านอกจากจะเน้นการลดน้ำหนักด้วยวิธีเปลี่ยนชิ้นส่วนต่าง
ๆ
เป็นอลูมินั่มอัลลอย
(จนบางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมไม่ใช้วัสดุประเภทอื่นอย่างคาร์บอนไฟเบอร์หรือเคฟล่าร์ที่เบากว่า
ซึ่งเขาให้เหตุผลว่า
วัสดุทั้งสองอย่างที่ว่านี้ยังขาดคุณสมบัติบางตัวที่ต้องการ
และยังซ่อมแซมแก้ไขได้ยากกว่าด้วย)
เพื่อความปลอดภัยทางค่ายม้าผยองยังเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างตัวถังอัลลอย
15 %
ด้วยการปรับปรุงให้เสากระจกหน้า
(A-Pillar),โครงตัวถังบริเวณประตู,เพิ่มคานขวางไว้ที่
Floor Plan
หลังคนนั่งและโคลงเหล็กป้องกันศีรษะที่ติดตั้งอยู่ระหว่างเบาะกับห้องเครื่องแข็งแรงกว่า
Modena
ซึ่งทั้งหมดก็ทำให้สามารถรับแรงบิดได้ดีกว่า
29 %
แต่เมื่อมามองที่ตัวรถโดยรวมทั้งหมดแล้ว
ถ้าเทียบความแข็งแรงของตัวรถธรรมดาและแบบเปิดประทุนแล้ว
ตัวรถธรรมดาจะแข็งแรงกว่าเช่นถ้าตัวรถ
F355 มีความแข็งแรง 100 %
แล้ว แบบเปิดประทุน F355
Spider
ก็จะมีความแข็งแรงประมาณ
70 % และถ้าไปเทียบกับ
Modena
จะมีความแข็งแรงมากกว่า
คืออยู่ที่ 144 %
ส่วนเจ้า Spider
จะมีความแข็งแรง 80 %
ในขณะที่ทรวดทรวงและลักษณะชิ้นส่วนต่าง
ๆ ของตัวรถนั้น
แบบเปิดประทุน F355 Spider
จะนำมาจาก F355 ประมาณ 90
กว่า % ในขณะที่ Modena
จำนำมา 68 % แต่ Spider
จะเหลือ 64%
ทั้งนี้เมื่อขึ้นตาชั่งแล้ว
Spider
จะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า
Modena อยู่ 6 %
แต่ด้วยชุดหลังคาอ่อนจึงทำให้มีน้ำหนักมากกว่า
60 กิโลกรัม
คือขยับจาก 1,390 เป็น 1,450
กิโลกรัม
- รายละเอียดสัดส่วนและน้ำหนักตัวรถ
ความยาวฐานล้อหน้า-หลัง |
2,600
มม.
|
ความยาวตัวรถ |
4,477
มม.
|
ความกว้างตัวรถ |
1,922
มม.
|
ความสูงตัวรถ |
1,235
มม.
|
น้ำหนักสุทธิ |
1,450
กก.
|
น้ำหนักเฉลี่ยระหว่างล้อหน้า/หลัง |
43/57
%
|
ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง |
95
ลิตร
|
กระทะล้อ |
อลูมินั่มอัลลอย
|
ขนาด |
หน้า
7.5 * 18 นิ้ว
หลัง 10.0
* 18 นิ้ว
|
ยาง |
Pirelli
P Zero
|
ขนาด |
หน้า
215/45 ZR18
หลัง
275/40 ZR18
|
ยังคงกว้างขวาง
ปลอดภัย ดุดัน..
และมีให้เลือกถึง 12
โทนสี
- การที่ค่ายม้าผยองได้เพิ่มความยาวฐานล้อให้กับ
Spider และ Modena นั้น
จุดประสงค์หลักก็คือ
จะเพิ่มเนื้อที่ใช้สอยให้กับห้องโดยสารมากขึ้น
ดังนั้นเมื่อก้าวเข้ามานั่งในห้องโดยสารเจ้ารถคันนี้แล้ว
สิ่งแรกที่สามารถสัมผัสได้ก็คือ
เนื้อที่ภายในที่ Spider
จะมีมากกว่า F355 Spider
อย่างผิดหูผิดตา
โดยไม่ว่าจะเป็น
เนื้อที่เหยียดแข้งเหยียดขา
(Leg Room)
เนื้อที่ความกว้าง
(Shoulder Room) และส่วนสูง (Head
Room) ก็ยังมากกว่า
ส่วนหลังเบาะคนนั่งก็จะมีเนื้อที่มากขึ้นจนสามารถเก็บชุดหลังคาอ่อนไฮดรอลิคได้นั่นเอง
ส่วนแผงหน้าปัทม์
แผงประตูตลอดจนเบาะนั่งก็จะมีลักษณะเดียวกันกับ
Modena
โดยยังยึดรูปแบบคล้ายของ
F355
แต่สไตล์การตกแต่งจะเล่นโทนสีแบบ
ทูโทน (Two Tone)
โดยสีพื้นนั้นจะให้คนที่ถอยลงจากโชว์รูมเป็นคนเลือกได้ถึง
12 สีด้วยกัน
จากนั้นก็จะมาตัดด้วยสีดำเป็นหลัก
นอกจากนี้ก็ยังมีแผงและขอบอลูมินั่มมาเพิ่มความดุดันตามยุคสมัยอีกด้วย
และสำหรับหลังคาอ่อนเองก็ยังมีให้เลือกถึง
3 สีด้วยกันคือ
ดำ,น้ำเงินและเทา
ส่วนแผงเกจ์ซึ่งเดิมจะแยกเกจ์ออกเป็นสองส่วน
โดยส่วนหนึ่งเอามาวางบริเวณเหนือคอนโซลกลาง
มาถึงรถคันนี้ก็จะเปลี่ยนเป็นช่องระบายอากาศของของระบบแอร์คอนดิชั่น
3 ช่องแทน
โดยได้ย้ายเกจ์เหล่านี้ไปรวมอยู่ที่เกจ์ความเร็วและวัดรอบเหมือนกับรถยนต์ทั่ว
ๆ ไป
เพื่อที่จะให้เหลือบมองได้ง่ายรวดเร็วและปลอดภัย
อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายมีให้อย่างครบครัน
ไม่ว่าจะเป็น Air-Condition
วิทยุ-เทป
และอุปกรณ์ปรับด้วยระบบไฟฟ้าต่าง
ๆ
ส่วนอุปกรณ์ในด้านความปลอดภัยก็จะมีทั้งเข็มขัดนิรภัยแบบ
3
จุดและถุงลมนิรภัยครบทั้งสองที่นั่ง
ขุมพลังเดียวกับ Modena
มีกำลังแต่ประหยัด
และฝีเท้าอยู่ในระดับแนวหน้าอีกด้วย
- พอชะโงกหน้ามองทะลุกระจก
เล็งขุมพลังวางตามยาว
เราก็จะพบกับ
เครื่องเบนซิน V 8 สูบ 90
องศา
ที่ค่ายนี้ได้เล่นมา
ตั้งแต่มี ค.ศ.1973
จนมาปัจจุบันก็ Hi-Tech
ด้วยระบบเพลา
ราวลิ้น แบบ 5
วาล์วต่อสูบ DOHC
เครื่องยนต์ block นี้
มีน้ำหนักเพียง 166
กิโลกรัม เท่า ๆ
กับของ F-355 แต่ทางค่าย
FERRARI ได้จัดการเอามา Modify
ปรับปรุงใหม่คือ
ยืดข้อเปลี่ยนระยะชักลูกสูบขึ้นไปอีก
2.0 มม. เป็น 79.0 มม.
ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกสูบยังคงไว้ที่
85.0 มม. เหมือนเดิม
แค่นี้ก็ได้ความจุกระบอกสูบ
เพิ่มขึ้นอีกประมาณ
2.6 % คือมากกว่าเดิม 90
ซีซี โดยขยับจาก 3,496
ซีซี ขึ้นเป็น 3,586 ซีซี
อาจจะดูว่าเล็กน้อย
แต่ก็มีผลมากทีเดียวนะจะบอกให้
-
สำหรับระบบเชื้อเพลิงของขุมพลัง
Spider ก็ยังเหมือนกับ Modena
ที่ระบบทางเดินอากาศ
ที่ใช้เคฟล่าร์ทำ
สามารถเปลี่ยนระยะทางเดิน
(Variable Inlet System) ได้
โดยจะเปลี่ยนระยะทางเดิน
ที่รอบการทำงาน ประมาณ
5,700 rpm
เพื่อจะให้สามารถเรียกม้าและแรงบิดที่รอบการทำงานเครื่องต่ำได้มากกว่าเดิม
ซึ่งก็อาจจะธรรมดา
ที่ทางรถเก๋งทั่ว ๆ ไป
ก็มีระบบนี้ใช้กัน
แต่ของขุมพลัง block นี้
ก็ยังทำงานร่วมกับท่อไอเสียแบบแปรผันได้
คือเค้าจะมีวาล์วควบคุมขยายช่องทางเดินอยู่
เพื่อที่จะสร้างแรงดันกลับ
(Back Pressure)
ให้เหมาะสมกับรอบการทำงานของเครื่องยนต์
ซึ่งตามปกติที่รอบการทำงานต่ำ
วาล์วก็จะปิดให้มีขนาดเล็กที่สุด
จากนั้นเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน
จนมาอยู่แถว ๆ 2,700 rpm ระบบ
Pneumatic Valve Actuator
จะขยับเปิดวาล์ว
ให้ขยายใหญ่ขึ้น
ตามปริมาณไอเสีย
ที่วิ่งผ่านออกมามากขึ้น
-
- จากนั้นก็มาที่ระบบหัวฉีด
Electronic แบบ Multipoint
และระบบจุดระเบิด
Electronic
แบบไร้หน้าทองขาว
ที่แม้ว่าของ Spider และ
Modena
ยังคงเป็นแบบเดียวกัน
แต่ระบบ Electronic
ที่ควบคุมการทำงาน
จะเป็นคนละรุ่นกัน
คือของ Modena เป็นรุ่น
Motronic 5.3 ส่วนของ Spider
เป็นรุ่นล่าสุด Motronic 7.3
แต่ก็ยังเป็นของ Bosch
เหมือนกัน
เสร็จแล้วยังเรียกม้าได้เท่า
ๆ กัน คือ 400 ตัวถ้วน ๆ
ที่รอบการทำงานเท่าเดิม
คือ 8,500 rpm
ส่วนแรงบิดที่มีให้ใช้งานสูงสุด
ก็ยังคงอยู่ที่ 38.01
กก.-ม.
จุดเด่นอยู่ที่จะมีมาให้ใช้เต็ม
ๆ ที่รอบการทำงาน 4,750 rpm
ต่ำกว่าของ F-355
ที่อยู่ที่ 5,800 rpm
นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้รถวิ่งเหยาะที่จังหวะเกียร์สูงกว่า
หมายถึงเครื่องยนต์จะทำงานอยู่ที่รอบการทำงานต่ำกว่าเดิม
เช่นที่ความเร็ว 35 km/h
สามารถวิ่งอยู่ในจังหวะเกียร์
3 ได้อย่างสบาย ๆ
โดยแทบไม่ต้องแตะคันเร่ง
และที่พ่วงต่อมาเป็นลูกโซ่ก็คือ
ความร้อนของเครื่องยนต์จะลดลงในขณะที่แผงระบายความร้อนต่าง
ๆ ที่แยกออกเป็น 2
ส่วนเพื่อไปวางที่
มุมซ้าย - ขวา หน้ารถ
เมื่อรวมเนื้อที่แล้วจะมากกว่าเดิม
ทำให้สามารถถ่ายเทความร้อน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถฝ่าการจราจรที่ติดสาหัส
กลางแสงแดดที่ร้อนระอุ
(เหมือนในบ้านเรา)
โดยไม่ต้องกลัวว่า
ม้าจะเต้นหยองแหยงให้คนควบจับไข้นะครับ
- ม้าล่ำ ๆ ทั้ง 400
ตัวที่ว่านี้
จะวิ่งลงล้อหลัง
ด้วยการส่งผ่านของเกียร์ธรรมดา
6 จังหวะ block ใหม่
ที่เพิ่งจะมาวางใน
Modena เป็น block
ที่ปรับปรุงให้มีขนาดกระทัดรัด
และยาวน้อยลง
จะร้อยต่อจาก block
เครื่องยนต์ (ในอดีต
block
เกียร์จะวางตามขวา)
ซึ่งก็อาจเป็นเหตุผลหนึ่ง
ที่ทำให้ค่ายม้าผยองต้องเพิ่มความยาวฐานล้อ
แต่ในขณะเดียวกัน
ก็ยังสามารถลดน้ำหนัก
เนื่องจากเสื้อ block
เกียร์
จะร้อยยึดชุดระบบกันสะเทือน
แทนการใช้ Sub Frame
แบบรถทั่ว ๆ ไป
นอกจากนี้
ยังมีเกียร์ธรรมดา
แบบ F1 ให้เลือก
โดยเป็นเกียร์แบบเรียงลำดับ
(Sequential) ที่มี 6 จังหวะ
มีระบบ clutch อัตโนมัติ
และใช้ระบบไฟฟ้า
ในการเปลี่ยนจังหวะเกียร์ให้ด้วย
(โดยคาดว่าจะนิยมสั่งติดตั้งใช้กันถึง
80% ทีเดียว)
โดยคันสวิตช์ซ้ายและขวา
จะอยู่หลังขอบพวงมาลัย
ส่วนที่คอนโซลกลางจะเป็นคันโยกเล็ก
ๆ
ให้เลือกว่าจะเดินหน้า
ถอยหลัง
หรืออยู่ในตำแหน่งจังหวะเกียร์ว่างเท่านั้น
ซึ่งระบบเกียร์แบบนี้
ทางค่ายม้าผยองเริ่มมาใช้เป็นค่ายแรก
โดยนำ technology มาจากรถ Formula1
ในค่ายที่ทำลงแข่งขัน
จนเอามาเรียกชื่อเกียร์
โดยมี Magneti Marelli
เป็นมือปืนรับจ้าง(ทำ)
และปัจจุบันที่นำมาใช้กับ
Spider และ Modena
เป็นการพัฒนามาสู่
Generation ที่สอง
โดยใช้ร่วมกับคันเร่งไฟฟ้า
(Drive - By - Wire) ทำให้ระบบนี้
มีการทำงานที่ฉับไวขึ้น
และเปลี่ยนจังหวะเกียร์ได้นิ่มนวลยิ่งขึ้นกว่าเดิมพอสมควร
- คราวนี้ลองมาคิดอัตราส่วนแรงม้าต่อน้ำหนักของ
Spider
ซึ่งต้องมากกว่าของ
Modena
เนื่องจากมีน้ำหนักตัวมากกว่าหน่อย
ปรากฏว่าม้าแต่ละตัวแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้นเพียงขีดครึ่งหรือ
0.1 กิโลกรัม คือ จาก 3.475
กิโลกรัมขยับเป็น 3.625
กิโลกรัม
ทำให้สามารถทะยานออกจากเส้นสตาร์ทไปถึงความเร็ว
100 กม./ชม. หย่อนไป 0.1
วินาที คือ modena จะทำได้
4.5 วินาที ส่วนเจ้า Spider
จะขยับเป็น 4.6 วินาที
แล้วก็ไต่ขึ้นเพดานความเร็วสูงสุดได้น้อยลงประมาณ
5 กม./ชม. คือตัว Modena
ทำได้ประมาณ 296 กม./ชม.
ส่วน Spider
ก็จะมาอยู่ที่ 291
กม./ชม.
ซึ่งสำหรับรถสปอร์ตเปิดประทุนก็ถือว่ามีฝีเท้าสูงที่สุดในกลุ่มแล้วนะครับ
เครื่องยนต์ |
เบนซิน
V8 สูบ
วางตามยาวกลางลำ
|
ระบบเพลาราวลิ้น |
5
วาล์วต่อสูบ DOHC
ขับด้วยสายพาน
|
บล็อคฝาสูบ/เสื้อสูบ |
อลูมิเนี่ยมอัลลอย/อลูมิเนี่ยมอัลลอย
|
เส้นผ่าศูนย์กลางกระบอกสูบ |
85.0
มม.
|
ระยะช่วงชักลูกสูบ |
79.0
มม.
|
ปริมาตรความจุกระบอกสูบ |
3,586
CC.
|
อัตราส่วนกำลังอัดกระบอกสูบ |
11.0
ต่อ 1
|
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง |
ระบบหัวฉีด
electronic แบบ multipoint
ควบคุมด้วยระบบ
Motronic 7.3 ของ Bosch
|
ระบบจุดระเบิด |
ระบบ
electronic
ไร้หน้าทองขาว
ควบคุมด้วยระบบ
Motronic 7.3 ของ Bosch
|
แรงม้าสูงสุด |
400
ps-DIN (250 kw) ที่ 8,500 rpm
|
แรงบิดสูงสุด |
38.01
กก.-ม. (373 นิวตัน-เมตร)
ที่ 4,750 rpm
|
รอบการทำงานสูงสุด |
8,800
rpm
|
อัตราส่วนแรงม้าต่อน้ำหนัก |
1
ps-DIN ต่อ 3.625 กก.
|
อัตราส่วนแรงม้าต่อลิตร |
111.5
ps-DIN ต่อ 1 ลิตร
|
ขับเคลื่อน |
ล้อหลัง
|
ระบบเกียร์ |
Manual
6 Speed
|
อัตราทดเกียร์ |
1 | 3.29
: 1
2 | 2.16
: 1
3 | 1.61
: 1
4 | 1.27
: 1
5 | 1.03
: 1
6 | 0.85
: 1
|
อัตราทดเฟืองท้าย |
4.44
: 1
|
ความเร็วสูงสุด |
291
km/h
|
0-100 km/h |
4.6
sec.
|
อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันในเมืองเฉลี่ย |
3.55
km/l
|
อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันนอกเมืองเฉลี่ย |
8.27
km/l
|
เฉลี่ยทั่วไป |
5.56
km/l
|
- ระบบช่วงล่างเดิมดีอยู่แล้ว
แต่แน่นอนต้อง set
ปรับบางส่วนให้เหมาะสม
ช่วงล่างของ Spider
จะเป็นแบบเดียวกับของ
Modena
คือระบบกันสะเทือนด้านหน้าและหลังเป็นแบบอิสระ
ปีกนก 2 ชั้น
พร้อมเหล็กกันโคลง
ด้านหน้ายังคงมีลักษณะการวางคล้ายกับของ
F355
ส่วนด้านหลังเปลี่ยนจุดยึดใหม่
โดยปีกนกต่าง ๆ
จะมาร้อยกับบล็อคเกียร์ตามที่ว่าไปตะกี้
ส่วนสตรัท คอยล์
สปริง-ช็อคอัพ
ยังเอาแบบ Active Suspension
มาใช้
ซ็อคอัพสามารถปรับความหนืดได้อัตโนมัติโดย
set ไว้เป็นสองแบบ คือ
Normal และ Sport
ซึ่งจะเปลี่ยนมาอยู่ในแบบไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเร็วที่กำลังใช้อยู่นั่นเอง
ทั้งนี้ค่าความแข็ง
(ค่า K )
ของคอยล์สปริงและค่าความหนืดช็อคอัพของ
Spider จะเพี้ยนจาก Modena
ไปบ้าง
เพราะทั้งสองมีน้ำหนักตัวไม่เท่ากันนั่นเอง
ระบบกันสะเทือนหน้า
|
อิสระ
คอยล์สปริง Shock Up แบบ
Adaptive
ปีกนก 2
ชั้น
พร้อมเหล็กกันโคลง
|
ระบบกันสะเทือนหลัง
|
อิสระ
คอยล์สปริง Shock Up แบบ
Adaptive
ปีกนก 2
ชั้น
พร้อมเหล็กกันโคลง
|
ระบบพวงมาลัย
|
Rack
and Pinion พร้อม power
ช่วยผ่อนแรง
หมุนพวงมาลัยจากซ้ายสุดไปขวาสุด
3.0 รอบ
|
ระบบเบรค
|
อิสระ
2 วงจร
พร้อมหม้อลมผ่อนแรง
|
ABS
|
อุปกรณ์มาตรฐานพร้อมระบบ
ASR
|
หน้า
|
Disc
Brake
พร้อมช่องและรูระบายความร้อน
ขนาด 330 มม.
|
หลัง
|
Disc
Brake
พร้อมช่องและรูระบายความร้อน
ขนาด 330 มม.
|
- สุดท้ายคือ
ระบบเบรกที่เปรียบเสมือนบังเหียนบังคับให้ม้าทั้ง
400 ตัวเชื่องอยู่มือ
เป็นหน้าที่ของระบบเบรกอิสระ
2 วงจรพร้อมหม้อลม
ที่ทำงานควบคู่กับระบบป้องกันล้อล๊อคตาย
(ABS)
พร้อมด้วยระบบกันล้อหมุนฟรี
(ASR)
ซึ่งระบบหลังนี้มีไว้เพื่อความปลอดภัย
ป้องกันไม่ให้รถออกตัวแบบล้อหมุนฟรีจนเสียการทรงตัวและเกิดการลื่นไถล
(ไม่ได้แจ้งมาว่ามี
switch
ปิดการทำงานหรือเปล่า)
ทั้งล้อหน้าและหลังจะใช้
disc brake
พร้อมช่องและรูระบายความร้อนขนาด
330 มม.
คู่กับคาลิเปอร์เบรค
6 pot เหมือนกัน
(แต่มีเนื้อที่สัมผัสผ้าเบรคไม่เท่ากัน)
Click at image to
enlarge!
ดูรูปใหญ่
คลิกที่รูปเลยครับ